เล่าเรื่องงานเบียนนาเล่ อาร์ต ปี 2017 “Viva Arte Viva”
ปกติแล้วงานเบียนนาเล่ที่เวนิสนั้นจะจัดหลากหลายแขนง คือ Art, Architecture, Music, Cinema, Dance และ Theater โดยแต่ละงานจะมีระยะเวลาการจัดแสดงที่ยาวนานต่างกันไป ในส่วนงาน Music, Cinema, Dance และ Theater นั้นจะจัดระยะสั้นๆ คือสิบวันไปถึงหนึ่งเดือน ที่นานที่สุดคือแขนง Art และ Architecture ที่จะใช้เวลาจัดแสดงงานยาวถึงครึ่งปี คือช่วงเดือนพฤษภาคม ไปจนถึงพฤศจิกายน สองงานนี้เลยจำเป็นที่จะต้องจัดสลับปีกันไป และปีนี้ 2017 ก็เป็นปีของการแสดงงาน Art
“… the title Viva Arte Viva has its own particular energy and dynamism. I chose it to inspire a lively interest in the public: Viva is a celebratory exclamation but also an expression of exuberance, and so it encourages a feeling of engagement with the exhibition “
– Christine Macel, Curator of the 57th International Art Exhibition
ในปีนี้งานอาร์ตมาด้วยหัวข้อเรื่องที่ว่า Viva Arte Viva ซึ่งเป็นเหมือนคำที่ร้องเฉลิมฉลองออกมาเพื่อให้เชื่อ และแสดงให้เห็นถึงการมีอยู่ของศิลปะ และศิลปิน
โดยหัวข้อนี้ ได้แรงบันดาลใจมาจาก มนุษยนิยม ความสามารถของมนุษย์ที่หลีกเลี่ยงจากการครอบงำของอำนาจต่างๆบนโลกที่จะส่งผลกระทบต่อมนุษย์ในมิติที่แย่ลงไป ผ่านงานศิลปะ
ทุกวันนี้ เราต้องเผชิญกับโลกที่เต็มไปด้วยความขัดแย้ง และแรงกระแทก ศิลปะเป็นสิ่งที่สะท้อนความรู้สึกส่วนตัว ความเป็นอิสระ และคำถามพื้นฐาน รับบทบาทเป็นเสียง และความรับผิดชอบของศิลปินที่มีความสำคัญยิ่งกว่าที่เคยอยู่ภายในกรอบการอภิปรายร่วมสมัย
การจัดนิทรรศการนำเสนอเส้นทางที่หล่อหลอมผลงานของศิลปิน การเดินทางที่ตีแผ่ลงในตอนต่างๆทั้งหมด 9 ตอน เหมือนกับหนังสือที่เล่าเรื่องราวด้วยศัพท์ที่สับสน และขัดแย้ง ออกนอกเส้นทาง สะท้อนถึงความซับซ้อนของโลก หลากหลายวิธีการ และการปฎิบัติที่หลากหลาย โดยวัตถุประสงค์ของนิทรรศการนี้เพื่อเป็นประสบการณ์การเคลื่อนไหวอย่างเปิดเผย จากตัวเองไปยังผู้อื่น ไปยังพื้นที่ร่วมเหนือการกั้นขอบเขตขนาดเอาไว้
หลักๆของงานจะแบ่งเป็นงานหลักภายในบริเวณGiardini และ Arsenale (ที่ต้องซื้อตั๋วเข้างาน) และงานที่จัดกันกระจายทั่วไปตามในตัวเมือง (แล้วแต่ที่ บ้างก็ฟรี บ้างก็เสียเงิน)
ในนี้เราจะพูดถึงตัวงานหลักของ Biennale Art ใน Giardini และ Arsenale ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 3 จุดหลัก คือ Giardini, Arsenale และ Paticipated Countries (อยู่ในบริเวณของ Giardini)
หัวข้อทั้งหมดของงานครั้งนี้
บทที่ I. Pavilion of artists and book จัดที่ Central Pavilion (Giardini) มีทั้ง open workshop และส่วนจัดแสดงงานเกี่ยวกับ วัสดุ และจิตวิญญาณในโลกของศิลปิน ถูกเปิดเผยผ่านความสัมพันธ์ของหนังสือ ตัวอักษร และสื่อความรู้ เพื่อสื่อให้เห็นถึงเส้นทางการเป็นศิลปิน ทั้งในแง่ดีและลบ
บทที่ II. Pavilion of Joys and Fears จัดที่ Central Pavilion (Giardini) ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และการดำรงอยู่ตัวเขา อารมณ์และความรู้สึกของเขา หรือสิ่งที่เขาพยายามสร้าง
บทที่ III. Pavilion of the Common (Arsenale) แสดงการทำงานของศิลปิน สำรวจความคิดทั่วไปในโลก และสร้างชุมชน เป็นวิธีโต้ตอบปัจเจก และความสนใจในตัวเอง
บทที่ IV. Earth Pavilion (Arsenale) ว่าด้วยเรื่องสิ่งแวดล้อม, สัตว์, โลกแห่งอุดมคติ และความฝัน
บทที่ V. Pavilion of Traditions (Arsenale) เกี่ยวกับโบราณคดี การขุดต้น ตีความใหม่ และการคิดค้นใหม่
บทที่ VI. Pavilion of Shamans (Arsenale) ศิลปินหลายคนถูกเรียกว่า Shaman หรือเป็น มิชชันนารี (ตามคำนิยามของ Duchamps)
บทที่ VII. Dionysian Pavilion (Arsenale) ว่าด้วยเรื่องเพศหญิง ความต้องการและความสุข ความปิติยินดีและความรู้สึกของอารณ์ขัน โดยงานสร้างจากศิลปินหญิง
บทที่ VIII. Pavilion of Colours (Arsenale) ห้องที่รวมคำถามทั้งหมดจากห้องก่อนหน้ามารวมกัน เหมือนเป็น พลุที่ปลายทางการเดินทาง
บทที่ IX. Pavilion of Time and Infinity (Arsenale) ว่าด้วยเรื่องเวลา และการทำนายถึงอนาคตที่ฝังอยู่กับปัจจุบัน หรืออุดมคติที่ไม่มีสิ้นสุด
นอกจากนี้ยังมีในส่วนการเข้าร่วมจากประเทศต่างๆอีก ซึ่งก็จะมี Pavilion ของแต่ละประเทศแตกแยกไปอีก เรียกว่าเดินกันจนขาลาก เสพศิลป์กันจนหัวฟู
Central Pavilion ในส่วนพื้นที่ของ Giardini (Pavilion of artists and book / Pavilion of Joys and Fears)

ในโซนนี้มีการจัดแสดงให้เห็นการทำงานของศิลปิน และร่วมทำงานกับศิลปิน โดยการเปิดเป็น open workshop

งานวาดของ Rama เป็นรูปแบบที่เรียกว่า cadaver exquis คือ การวาดร่วมจากหลายๆภาพ ประกอบกันเป็นภาพเดียวด้วยลักษณะ surrealist เพื่อให้เกิดภาพแปลกประหลาด ซึ่งรูปแบบนี้คิดขึ้นมากในปี 1925 ในกรุงปารีสโดย ศิลปิน surrealist ที่ชื่อว่า Yves Tanguy, Jacques Prevert, Andre Breton and Marcel Duchamp. และชื่อนี้มาจากเกมส์ที่ชื่อว่า ‘le cadavre exquis boira le vin nouveau’ (‘the exquisite corpse will drink the new wine’).


คล้ายๆกับการมาซุปเปอร์มาเก็ตแล้วมาเลือกดูสินค้าจากศิลปิน ที่มีผลงานศิลปะวางแทนสินค้า หลากหลายวัสดุผสมผสาน หลากหลายขนาด
“…I’m not trying to make magic of some kind that would impress an audience as to how the work is created. There are no secrets. The philosophical or psychological question here is how, as an artist, I give myself the authority to make art.”
– Hassan Sharif

งานของ Ciprian Muresan เป็นการแสดงถึงความไม่สอดคล้องกันของสังคมโรมาเนีย และความผิดพลาดของลัทธิสังคมนิยม ขณะเดียวกันก็แสดงถึงความหวาดระแวงของโลกตะวันตกและอุดมการณ์ใหม่ของลัทธิยุโรป โดยนำเสนอเป็นภาพวาดคัดลอกรายละเอียดจากศิลปินรายใหญ่ เช่น Giotto, Tiepolo , Correggio หรือ Giorgio Morandi เล่นกับประวัติศาสตร์และอักษร ซึ่งใช้ลักษณะของ Palimpsest* ทำให้ผู้เข้าชมต้องถอดรหัสหลายชั้นของภาพวาดซ้อนทับ ที่ต้องการสะท้อนถึงการสูญเสียความเป็นตนเองด้วยสังคมตะวันตกยุคใหม่
*Palimpsest เป็นภาษากรีกที่มีความหมายถึง การถูซ้ำอีก ซึ่งเอามาใช้ในการถูหรือล้างข้อความที่ไม่ต้องการที่เขียนด้วยหมึกออก แล้วนำไปบันทึกข้อมูลใหม่ เพราะในสมัยก่อนนั้นวัสดุหาได้ยาก
“In a world full of conflicts and jolts, in which humanism is being seriously jeopardized, art is the most precious part of the human being.”
– as Christine Macel has said

ในวิดีโอจะเป็นการนำเอาภาพผลงานศิลปะทั้งขนาดเล็กใหญ่ แบกข้ามด้วยการเดินบนเส้นเชือกเส้นเดียว จากโขดหินหนึ่งไปยังอีกโขดหินหนึ่ง เห็นแล้วน่าหวาดเสียวว่าจะตกลงไป โดยต้องการจะเปรียบเทียบกับการใช้ชีวิตของศิลปินที่ต้องต่อสู้อย่าง และอยู่รอดเพื่องานของตน
“The fact that the artists are barely surviving, have to fight for their works, but happen to be the last persons to be paid is unacceptable.”
– Taus Makhacheva

อ่านต่อ Biennale Arte 2017 – La Biennale di Venezia (ตอนที่ 2 at Arsenale)
อ้างอิงข้อมูลเพิ่มจาก
https://universes.art/venice-biennale/2017/viva-arte-viva/
http://www.tate.org.uk/art/art-terms/c/cadavre-exquis-exquisite-corpse
Meet the Three Russian Artists Stealing the Show at the Venice Biennale
http://tidoilla.blogspot.it/2017/07/ciprian-muresan-1977.html