ในตอนที่ 2 นี้ เราเดินย้อนกลับมาจากสวน Giardini ในตอนที่ 1 และเข้ามาถึงส่วน Arsenale ข้อมูลคร่าวๆคือ เคยเป็น อู่ต่อเรือ และคลังสินค้ารวมกัน ดูแลด้านพลังงานทางทะเลของเวเนเชี่ยนในช่วงกลางของศตวรรษที่สอง เรียกว่าเป็น Industrial complex ที่ใหญ่ที่สุดของยุโรป ในช่วงสมัยก่อน Industrial Revolution
กลับมาที่งานนิทรรศการของเราก่อนจะว่ายออกอ่าวไปไกลกันค่ะ Arsenale จะเริ่มต่อมาเป็น บทที่ 3 Pavilion of the Common ยาวไปจนถึงบทที่ 9 Pavilion of Time and Infinity
1. PAVILION OF THE COMMON

“Zero doesn’t mean nothing, zero means energy is there but it is in a static form.” งานของ Rasheed Araeen, จากประวัติการศึกษาของเขากับการเป็นวิศวกร ทำให้เกิดเป็นงานศิลปะการความรู้พี้นฐาน และความสนใจในเรื่องโครงสร้าง และผสมผสานความเรียบง่ายของความแม่นยำทางเรขาคณิต ใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างสรรค์ที่งานศิลปะในครั้งนี้

The Mending Project (2009-2017), Lee designs co-participative spaces where visitor is an exploration of the moment a human relationship is born. The artist invites visitors to sit at the sewing table to mend a garment, or to dinner, or to draw and erase a sand version of Guernica with him. The birth of intimacy coincides with the making of experiential art.
The Mending Project (2009-2017) งานของ Lee Mingwei เป็นงานร่วมกับผู้เยี่ยมชม โดยผู้เข้าร่วมงานสามารถนำเสื้อผ้าที่ชำรุดเสียหาย มาพูดคุยกับช่าง และเมื่อกระบวนการซ่อมแซมเสร็จสิ้น ปลายด้ายยังคงติดอยู่ เสื้อผ้าถูกวางไว้บนโต๊ะ เพื่อเล่าเรื่องการซ่อมแซมที่ถูกแปลงเป็นอุปกรณ์ในการเล่าเรื่องส่วนบุคคลสะท้อนด้วยอารมณ์ การมีปฏิสัมพันธ์ และการแลกเปลี่ยนระหว่างศิลปินกับกลุ่มผู้ชม

งานที่เกิดจากการตกตะกอนของวัฒนธรรม และประสบการณ์ที่สั่งสมมายาวนาน เช่นเดียวกับทักษะการเย็บที่ Maria Lai ใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างสรรค์งานศิลปะ

งานของ Franz Erhard Walther เป็นงานที่ได้รับรางวัล Golden Lion สำหรับศิลปินในปีนี้ ซึ่งงานที่นำมาจัดแสดงเป็นส่วนหนึ่งของซีรี่ในช่วงผลงานปี 1983,1986 และ 1975. โดยผลงานผ้าใบที่ติดบนผนังนี้นำเสนอความเป็นภาพวาด และประติมากรรม รวมทั้งการใช้ส่วนรวมของสัดส่วนมนุษย์ ที่เข้าไปร่วมอยู่ในงาน ซึ่งผ้าใบเหล่านี้สามารถดึง พับ ติด ถอดอาศัยได้ ในขณะเดียวกันนั้นก็เป็นงานที่ส่งเสริม และเป็นสีสันพื้นหลังให้กับงานข้างเคียงได้อย่างดี โดยศิลปินได้เลือกใช้ทั้งรูปร่าง สี ผ้าใบ ประติมากรรม และยังมี Performance เพื่อดึงดูดผู้ชม (ตอนเราไปไม่อยู่ในช่วงการแสดง) เป็นการแสดงถึง way of living in transit.


Martin Cordiano The installation, metaphor of an architectonical place given only by a small hint ” the skirting board” when confronted with the spheres as moving bodies, creates a tension between transitions amidst its structures. The installation simultaneously places us outside of it as well as within it. The border, whether physical or symbolical, acts as something that concurrently separates and connects, contains and restricts, limits and articulates through the use of space. It is an encounter, an incompleteness and yet a zone of negotiation. The common thus, becomes the unexpected.
To imagine going down into the water or wandering in the desert
is to change space; and to change space is to change being.– Gaston Bachelard, The Poetics of Space
พื้นที่ต้องการตำแหน่งจากเรา เราเองก็จำกัดตัวเองด้วยการขีดเส้นขอบเขต ประสบการณ์ของเราเชื่อมโยงกับสถาปัตยกรรมที่มีความสัมพันธ์กันอย่างไม่เปลี่ยนแปลง Common places ก็มีจุดยืนในการพิจารณาความสัมพันธ์เช่นกัน ที่จะนำเสนออาณาเขตที่มีลักษณะทั่วไป คือองค์ประกอบที่คลุมเครือ
การอุปมาของ the skirting board หรือ บัวเชิงผนังในงานชิ้นนี้เมื่อเทียบกับลูกทรงกลมที่เคลื่อนไหว เป็นเหมือนส่วนที่กั้นระหว่างผู้ชมที่เป็นคนภายนอก และตัวทรงกลมที่อยู่ภายในก็อาจจะเป็นภายนอกได้เช่นกัน ดังนั้น ขอบเขต จึงเป็นกายภาพ หรือสัญลักษณ์ ที่แสดงได้ถึงการแบ่งแยก, การเชื่อมโยง, การบรรจุ หรือข้อห้ามข้อจำกัด ของผู้ใช้งานพื้นที่ มันคือความไม่สมบูรณ์ที่สามารถเปลี่ยนเป็นสิ่งที่ไม่คาดฝันได้
2. PAVILION OF THE EARTH

Shimabuku turns a MacBook Air into functional axe. Overall, Shimabuku’s corpus of art is an epos of irony which, if we look at it, is in everything. Food, fruit and vegetables, cardboard boxes, sea creatures, Dissimulation, which is the essence of irony, hides behind every image and even more so behind every arbitrary semantization of said images by Man, whose alien existential modality is eventually revealed.
Shimabuku แสดงผลงานเสียดสีกับสังคมมนุษย์ ที่เปรียบเทียบให้เห็นถึงเครื่องมือหากินของมนุษย์ในยุคโบราณ และปัจจุบัน ในตอนท้ายได้แสดงการตัดลูกแอปเปิ้ลด้วย Macbook Air จริงๆให้ดู


Michel Blazy’s intuitive sculpture interacts and lives, it relates itself to our sense of sight and smell (as in the culture medium in the breeding ground contained in old shoes), of balance (by making us stumble), of life (by showing us the active, independent growth of micro-organisms) The true subject, though, is TIME, it is the very reason art lives.
Michel Blazy ศิลปินที่ทำงานเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตและธรรมชาติ (organic) ที่สร้างปฏิสัมพันธ์ร่วมกันกับสิ่งมีชีวิตด้วยการมองเห็นและกลิ่น โดยการนำพืชพันธ์ไม้ พฤษศาสตร์ มารวมกับวัตถุในชีวิตประจำวันทั่วไป คือ รองเท้า sneaker ที่มาทำเป็นกระถางต้นไม้ เรียงกันจนเป็นกำแพง

Julian Charrière สร้างประติมากรรมขึ้นจากเกลือจาก Salar de Uyyni, lithium brine หรือนำ้เกลือลิเธียมในกล่องอะคริลิกใส ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากความยิ่งใหญ่ของ space and time เขาได้เก็บรวบรวมวัสดุมาสร้างงานที่เป็นร่องรอยของประวัติศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ งานตามแนวเส้นลองติจูดของโลก อาร์กติกถึงแอนตาร์กติก เส้นทางเขตร้อนของยุคสมัย Cretaceous

Thu Van Tran ศิลปินสองวัฒนธรรมที่ได้รับแรงบันดาลใจมากจากวรรณคดี ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม สถาปัตยกรรม และธรรมชาติ นำเสนอสี่ผลงานที่ได้รับอิทธิพลมาจาก ชีวิตของตนเอง พร้อมกับตั้งคำถามเกี่ยวกับ “ยาง” ในส่วนของความคิดเห็นเชิงประวัติศาสตร์ และความรู้สึก ต้นยางเป็นเหมือนสัญลักษณ์ของการใช้อำนาจและการครอบงำกิจการอาณานิคมในบางประเทศ ผลงานของศิลปินนำเสนองานศิลปะเพื่อการเปลี่ยนแปลงโชคชะตา เนื่องจากประวัติศาสตร์เปิดเผยถึงความบกพร่องและความไม่สมเหตุผลของธรรมชาติของมนุษย์
3. PAVILION OF TRADITIONS


Sala’s Installation hanging on the wall covered by a hand drawn wallpaper, a music box, combined by two original rollers, transforms the visual motifs into a sound, The cylinders’ surfaces are patterned with small metallic needles tuned according to a combination of Western and Eastern musical scales.
The effect of synesthesis generates by the subtle play of visual and sound correspondences, presents Sala’s work as a place of encounter between the musical sceneries and traditional techniques of two different cultures.
ประติมากรรมสะท้อนความสัมพันธ์ของศิลปินกับงาน และสถาปัตยกรรมสถานที่จัดแสดง Anri Sala แสดงผลงานภาพวาดบน wallpaper ขนาดใหญ่จากลูกกลิ้งที่รวมเข้ากับกล่องดนตรี ที่แปลงลวดลายออกมาเป็นทั้งภาพและเสียง พื้นผิวของกระบอกลูกกลิ้งมีลวดลายจากเข็มโลหะขนาดเล็กที่ผสมผสานดนตรีของตะวันตก และตะวันออก วางอยู่ตำแหน่งที่แบ่งสองลวดลายบนพื้นผิวผนังขนาดใหญ่ กลายเป็นฉากการพบกันด้วยเทคนิคดั้งเดิมของสองวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน
4. PAVILION OF SHAMANS

Ernesto Neto modelled the ceremonial pavilion after the ayahuasca ceremony in the Huni Kuin Indian culture. Neto’s installation are mazes to walk through, complex sculptures that invade and redefine space. Lycra curtains envelop visitors like stalactites filled with spices, or coloured and perfumed essence. In formal, conceptual, metaphorical terms, it recalls both human skin and architectural membranes.
ศิลปินได้รับแรงบันดาลใจมากจาก Cupizawa สถานที่สำหรับประกอบพิธีของ Huni Kuin Indians ชาวพื้นเมืองดั่งเดิมของชาวบราซิล โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อทำให้เกิดสถานที่ศักดิ์สิทธ์ของพิธีกรรม Ayahuasca และเพื่อพูดถึงชะตากรรมของชาวบราซิลพื้นเมือง และกลุ่มสมาชิกเผ่าก็ได้ร่วมเดินทางไปแสดง Performance ในครั้งนี้ด้วย
5. DIONYSIAN PAVILION


Her sculptures are assemblages of objects found in daily life, to build a larger story. She does not seek to create new objects, believing that the world has already produced enough, much of it now discarded. Her daily activity thus involves strolling around looking for scraps and things that can be recycled. their decrepit state speaking volumes of the culture that once valued but has now discarded them.
ศิลปิน Maha Mallah ได้สร้างผลงานเพื่อรวมรวมของเก่าที่พบได้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน นำมารีไซด์เคิลเพื่อสร้างเรื่องราวใหม่ โดยไม่เกิดจากการสร้างวัสดุขึ้นมาใหม่ เพราะเชื่อว่าโลกของเรามีการผลิตมากเพียงพอแล้ว เพื่อเล่าถึงเรื่องราววัฒนธรรมที่ครั้งนึงเคยมีคุณค่ามาก ตรงข้ามกับปัจจุบัน
Works from “Towards Universal Pattern Recognition” series (2016), by Jeremy Shaw featuring archival photos of people in states of religious ecstasy in prism-like acrylic casings.
6. PAVILION OF COLOURS

Cotton textiles bear on them the recent history of Mali, the important crops. Artist was inspired by the costumes of Senufo musicians and the Koredugaw ritual in the Segou and Koulikoro region with ancient technique.
ศิลปินAbdoulaye Konaté ได้แรงบันดาลใจมาจากชุดแต่งกายของนักดนตรีท้องถิ่น Senufo และพิธีกรรมของชาว Koredugaw ในเขต Segou และ Koulikoro ด้วยเทคนิคโบราณที่ใช้ในการทำเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย ด้วยวัสดุจากพืชผลท้องถิ่นที่มีความสำคัญ คือ ฝ้าย ที่นำมาทำเป็นผ้าซึ่งเป็นผลผลิตหลัก และงานหลักของชาว Mali

7. PAVILION OF TIME AND INFINITY

Installation of Liliana Porter, a small male figure armed with an axe appears to be at the centre of a great shambles of shattered objects, from pieces of ceramic to a disemboweled wooden piano. Small scenes are played out amid the plentiful debris. The incongruity of the spatio-temporal dimension of this scene is augmented by an effect of scale, subtracting it from all reality. Porter’s installation is marked by its humanist dimension. The invented microcosm of the scene mirrors the human condition, burdened with the doubts and questions.
ศิลปินใช้วัตถุที่ต่างๆที่ดูไม่มีประโยชน์ และไม่ได้มีความหมาย เพื่อตั้งคำถามแสดงความจริง ในงานแสดงหุ่นชายถือขวานกำลังจามวัตถุจากหลากหลายชิ้นของเซรามิกกลายเป็นเปียโนไม้ที่ไม่ได้เกี่ยวอะไรกันเลย ดูไม่ออกว่าเขากำลังพยายามทำลายอะไร ความไร้เหตุผล และเส้นคดโค้งเป็นการอุปมากาลเวลาที่ผ่าน และฝังลึกลงในความทรงจำของพวกเรา งานของ Porter ได้ให้ความหมายว่า ถึงสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กในงานที่สะท้อนถึงเงื่อนไขของมนุษย์ ภาระหน้าที่พร้อมกับข้อสงสัย และคำถาม

The sculptures are meant to found a new metaphysical order, where materials are connected to moments of time carefully chosen by the artist. As a thought experiment about object in time, the installation presents a boulder transferred into steel and then to stone and wood, leading back to bronze and stone. In the installation, nine sculptures show the deconstructed movements of a spinning ring in a chronophotographic image.
Alicja Kwade สร้างประติมากรรมมีจุดหมายเพื่อการค้นพบอภิปรัชญาใหม่ (ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่อยู่นอกเหนื่อจากรู้เห็นทั่วไป แต่เกิดจากการเข้าใจด้วยเหตุผล) เมื่อวัสดุเชื่อมโยงกับเวลา ความคิดทดลองเกี่ยวกับวัสดุในช่วงเวลา นำเสนอหินภูเขาก้อนหนึ่งที่ถูกเปลี่ยนกลายเป็นเหล็ก และจากนั้นก็กลายเป็นหิน และไม้ และถูกนำกลับมาทำให้เป็นทองสัมฤทธิ์ และหิน ในงานแสดงนี้ประกอบไปด้วยประติมากรรม 9 ชิ้น จัดวางให้เห็นถึงการเคลื่อนไหวและแยกชิ้นส่วนของวัตถุต่างๆเป็นวงแหวนในแบบแบบ Chronophotography ซึ่ง คือเทคนิคการจับภาพการเคลื่อนไหวของวัตถุในหลายๆเฟรม (ซึ่งถ้าเอามารวมกันเร็วๆจะกลายเป็นภาพเคลื่อนไหว)
SPECIAL PROJECTS ปิดท้ายตอนที่สองนี้ด้วยโปรเจ็คพิเศษ ภายนอกอาคาร

A re-creation of the “house boat” by the Japanese art collective, THE PLAY, on the docks of the Arsenale
The play เป็นโปรเจ็คของกลุ่มศิลปินชาวญี่ปุ่น ที่ได้ทดลองล่อง และใช้ชีวิตอยู่ในบ้านลอยน้ำที่นำมาจัดแสดง
รออ่านต่อตอนที่ 3 กันนะคะ
อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก
– https://universes.art/venice-biennale/2017/viva-arte-viva/photos-arsenale-1/arsenale-2/
– http://cagrp.org/view/venice2017/index.php