เสียดายที่เวลามีไม่มากนัก ไม่งั้นคงจะได้มีโอกาสเดินดูนิทรรศการในตัวเมืองด้วย เลยต้องจบงานนี้ไว้เพียงแค่ตอนที่ 3 ซึ่งจะเป็น Pavilion ประเทศต่างๆที่เข้าร่วม หลักๆแล้วจะมี 30 ประเทศที่มี permanent pavilion เป็นของประเทศตัวเองอยู่ใน Giardini (ส่วนเดียวกันกับ Central Pavillion ในตอนที่ 1 ) ส่วนประเทศอื่นๆนั้นก็จะจัดอยู่ตามส่วนต่างๆกระจายกันไปในส่วน Arsenale
Russia Pavilion
มาในชื่องานว่า Theatrum Orbis แปลว่า Theater of the world นำชื่อมาจาก การตีพิมพ์รวมแผนที่โลก (Atlas)ในปี 1570 โดย Flemish cartographer Abraham Ortelius ซึ่งอยู่ในยุคแห่งการสำรวจ และการค้นพบ Age of Discovery สมัยแรกที่มีการรวมความรู้ และประสบการณ์ในสาขาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม




เมื่อเดินลงมาชั้นล่างมาเจอผลงานโดยศิลปิน Recycle Group ในชื่อ Blocked Content ได้สร้าง Absurdist image เล่นกับมาตรฐาน จริยธรรม และความเป็นจริงของสื่อสังคมออนไลน์ แสดงความเป็นอมตะในสังคมร่วมสมัย ที่เปรียบ “นักบุญ” กับชีวิตนิรันดร์ และ “คนบาป” ในที่นี้หมายถึง spammers, visrus retailers หรือ fake celebrities จะถูกลงโทษ แรงบันดาลใจมาจากฉากในนรก Dante’s 9th Circle of Hell ร่างแต่ละร่างเปรียบเหมือนโปรไฟล์ขอ ที่ถูกบล็อกอยู่ภายใต้สูญญากาศ ไม่สามารถกลับมาได้เหมือนเดิม เราสามารถมองเห็นได้เพียงผ่าน application ที่ผู้เข้าชมดาวโหลดลงบน smartphone


Japan Pavilion
ศิลปิน Takahiro Iwasaki โดยการ curated จาก Meruro Washida ได้นำเสนอนิทรรศการในชื่อ Turned Upside Down, It’s a Forest



South Korea Pavilion
เกาหลีใต้กับชื่อหัวข้อ Counterbalance : The Stone and the Mountain ของสองศิลปิน Cody Choi และ Lee Wan
Pavilion ถูกออกแบบภายนอกตัวอาคารเลียนแบบคาสิโนในลาสเวกัส และมาเก๊า โดยใช้ชื่อ Venetian Rhapsody (งานเลี้ยงเต้นรำหรูหราของเวนิส) กับป้ายโฆษณาที่แสดงออกอย่างโจ่งแจ้งตรงไปตรงมาว่า Pole dance, free video TV, free narcissistic people, free peep show, major credit cards, free orgasm.


British Pavilion
งานประติมากรรมของ Phyllida Barlow ถูกจัดวางไว้ทั่วทั้ง Pavilion ทั้งข้างนอกและภายในตัวอาคาร บางชิ้นติดตั้งสูงถึงหลังคา Barlow ได้สร้างสรรค์งานประติมากรรม Abstract โดยใช้ชื่อเรียกงานว่า Folly ให้ผู้เข้าชมสนุกไปกับการสำรวจและสร้างสรรค์ไอเดียความเข้าใจต่างๆด้วยตัวเอง จากสิ่งของที่พบได้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน เช่นไม้ คอนกรีต ผ้า ถุงกระสอบ ฟองน้ำ และใช้สีสันที่จัดจ้านสร้างความสนุกสนานในงาน จากวัสดุเบาๆ สร้างเป็นรูปร่าง และทับภายนอกด้วยคอนกรีตโดยรอบ ถ้ามองไปใกล้ๆ ถึงจะเห็นวัสดุภายใน แต่ถ้ามองภาพรวมแล้วก็ทำให้ตกใจถึงความยิ่งใหญ่ หนักแน่นของงาน แต่ภายในจริงๆใช้วัสดุเบา

German Pavilion
ในปีนี้ German pavilion ได้รับรางวัล Golden Lion สำหรับ the best exhibition pavilion ภายใต้ชื่องาน Faust จากศิลปินชาวเยอรมัน Anne Imhof
ภายใน pavilion ถูกปรับเปลี่ยนให้กลายเป็นโรงละครรูปแบบใหม่ ติดตั้งด้วยผนัง พื้น และเพดานกระจกโดยรอบ ตัวพื้นถูกยกสูงขึ้นมาประมาณหนึ่งเมตร จากระดับพื้นปกติ ทำให้ผู้ชมถูกปรับมุมมองให้สูงขึ้น ข้างล่างพื้นกระจกที่ถูกยกสูงขึ้น ได้ถูกจัดให้มีการแสดง Performance ขึ้นทุกวัน เปลี่ยนมุมมองการดูการแสดง นักแสดงและผู้ชมถูกกั้นออกจากกันด้วยพื้น และผนังกระจก ภายใต้พื้นที่ว่างเดียวกัน
ภายใต้ชื่องาน Faust ที่เป็นชื่อของบทละครของชาวเยอรมัน Johann Wolfgang von Goethe ถูกนำมาแสดงเป็น Performance ในpavilion ซึ่งถือว่าเป็นวรรณกรรมที่ได้รับความนิยม และมีชื่อเสียงมากของเยอรมัน


Israel Pavilion
งานนิทรรศการโดยศิลปิน Gal Weinstein เปลี่ยน Pavilion ให้เป็นสภาพแวดล้อม และบรรยากาศความโรแมนติกของ Israeli ในตำนาน ออกมาเป็นจิตรกรรมบนผนัง และพื้น เป็นความทรงจำที่ถูกหยุดเอาไว้ ภายใต้ชื่องาน Sun Stand Still ที่มาจากคัมภีร์ของ Joshua Bin-nun ผู้นำของอิสลาเอลยุคโบราณที่สั่งให้พระอาทิตย์หยุดเวลา เพื่อที่จะได้นำทัพชนะก่อนจะถึงรุ่งเช้า
ในส่วนกลาง pavilion มีชื่อว่า Moon over abalone valley ถูกเปลี่ยนกลายเป็นบรรยากาศของพื้นที่ที่ถูกทิ้งร้าง อาคารที่รกร้าง เน่าเปลื่อย และผุกร่อนมาอย่างยาวนาน
บนชั้นลอย ถูกจัดให้คล้ายแปลงเกษตรรูปทรงประหลาด จากกากกาแฟ ถ้าหากขึ้นไป จะเหมือนได้มุมมอง Bird eye view ที่เห็นภาพพื้นที่ทางการเกษตรที่ถูกละเลย และชั้นบนของ Pavilion ศิลปินได้แสดงการหยุดเวลาผ่านประติมากรรมที่ทำด้วย Acrilan fiber เป็นการยิงขีปนาวุธ เชื่อมกับชั้นกลาง ทำให้มองเห็นเป็นขีปนาวุธที่ถูกยิงเหนือท้องฟ้าแปลงเกษตร
เมื่อเรื่องราวถูกนำมารวมกัน เกิดเป็นเรื่องเล่าที่เสนอวิสัยทัศน์ช่วงหลังของยุค Apocalypse ที่เผยให้เห็นความเย่อหยิ่งในอารยธรรมของมนุษย์




U.S. Pavilion


Brazilian Pavilion
“Chão de caça” หรือ Hunting Ground โดยศิลปินชาวบราซิล Cinthia Marcelle เปลี่ยนพื้นตัวอาคารให้เป็นตะแกรงเหล็ก มีเม็ดกรวดถูกอัดแทรกตามร่องตะแกรง ให้ความรู้สึกเหมือนพื้นที่พบเจอในที่สาธารณะ ตามโรงงานอุตสาหกรรม สถานีรถไฟใต้ดิน หรือแม้กระทั่งช่องระบายอากาศชั้นใต้ดินที่พบเห็นตามท้องถนนทั่วไป


Argentina Pavilion

Italian Pavilion
ภายใต้หัวข้อเรื่อง Il mondo magico หรือ The magic world เป็นชื่อโปรเจคที่รวมเอางานศิลปินชาวอิตาเลียน 3 คน Giorgio Andreotta Calò, Roberto Cuoghi และ Adelita Husni-Bey ซึ่งได้เสนอความเชื่อรูปแบบใหม่ที่เปลี่ยนเอาพลังการจินตนาการ และความสนใจในโลกแห่งมายากล
ชื่อของงานได้ยืมมาจากชื่อหนังสือของ Neapolitan scholar Ernesto de Martino ซึ่งเป็นผู้ที่ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับมนุษยวิทยา หลักการของมายากล และพิธีกรรมทางศาสนา
ในส่วนงานของ Roberto Cuoghi ได้เปลี่ยนพื้นที่ในงานให้กลายเป็นพื้นที่โชว์กระบวกการทำประติมากรรมพระเยซูคริสต์ตั้งแต่เริ่มกระบวนการหล่อวัสดุอินทรีย์ ในแม่พิมพ์ไปจนถึงการตรึงกางเขน โดยได้แรงบันดาลใจมาจาก the Imitation of Christ หนังสือแห่งการนมัสการ และการดลบันดาลใจสำหรับผู้ที่ปรารถนาจะมีชีวิต “เลียนแบบพระคริสต์”



ในส่วนงานของ Giorgio Andreotta Calò ได้ใช้ชิ้นส่วนของอาคาร และบริบทโดยรอบมาเป็นส่วนหนึ่งของงานศิลปะ ผ่านองค์ประกอบของธรรมชาติ ซึ่งในที่นี้คือ น้ำ สร้างให้สร้างความอลังการ ชวนให้สงสัย และสัมผัสได้ถึงความลึกลับ
โดยพื้นที่ในงานจะถูกแบ่งออกเป็นสองระดับ พื้นที่ถูกทำให้มืด เข้าชมงานผ่านทางส่วนล่างที่เห็นเพียงโครงสร้างยกพื้นระดับในตัวอาคารขนาดใหญ่ เมื่อขึ้นมาถึงระดับพื้นที่ถูกยกขึ้นจะเห็น
เป็นเหมือน สระน้ำขนาดใหญ่สะท้อนเห็นโครงสร้างหลังคาของอาคารกลับหัวลงมาบนพื้นน้ำ

อ้างอิงข้อมูล
japan pavilion presents takahiro iwasaki’s solo exhibition at the venice art biennale
https://venicebiennale.britishcouncil.org/2017-exhibition/phyllida-barlow
http://www.deutscher-pavillon.org
https://www.haaretz.com/life/1.789112
http://www.markbradfordvenice2017.org/exhibition/